ความแตกต่างระหว่าง พื้น PU กับ พื้น epoxy
ความ แตก ต่าง ระหว่าง พื้น PU กับ พื้น Epoxy มี 3 ประเด็นหลัก โครงสร้างทางเคมี กายภาพฟิล์มสีและการใช้งานที่แตกต่างกัน
By Pongsak Vichaisorn
3 ข้อแตกต่างระหว่าง พื้น PU กับ พื้น epoxy
1. ความแตกต่างกันทางโครงสร้างทางเคมี
2. ความแตกต่างทางกายภาพฟิล์มสี
3. ความแตกต่างเกี่ยวกับการใช้งาน
3 ข้อแตกต่าง พื้น PU กับ พื้น PU
1. ความแตกต่างทางโครงสสร้างเคมี ระหว่าง พื้น PU กับ พื้น epoxy
พื้น PU จะมีโครงสร้างหลักระหว่าง PU resin กับสารเร่งแข็ง isocyanate resin เมื่อผสมกันจะเกิดปฏิกิยา Polymerization ได้ฟิล์มสีที่เรียกว่า Poluurethane หรือที่เราเรียกสั้นว่า “สี PU” นั่นเอง ส่วน พื้น epoxy จะเป็นการเกิดปฏิกิริยา Polymerization ระหว่าง Epoxy resin กับ สารเร่งแข็ง กลุ่ม Polyamide เกิดเป็นฟิล์มสีมีความเงางาม และมีความทนทานต่อการใช้งานที่เรียกว่า “สี epoxy”
2. ความแตกต่างทางกายภาพฟิล์มสี
พื้น PU ฟิล์มสีทีได้จะเป็นสีด้าน หรือ กึ่งเงากึ่งด้าน (Semi-Gloos) ฟิล์มมีความทนทานต่อความชื้นสูง แข็งแรงทนการขีดข่วนได้ดี ซึงแตกต่างจาก พื้น epoxy มีฟิล์มสีมีความเงางามสูง ทนทานต่อสารเคมี กรด-ด่าง น้ำมัน จาระบี ตัวทำละลายต่าง ทินเนอร์เป็นอย่างดี ฟิล์มสีมีการยึดเกาะกับคอนกรีตเป็นเยี่ยม จึงนิยมมออกแบบเป็นสีรองพื้น
สี PU สามารถใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ส่วน สี epoxy เหมาะกับการใช้งานภายในเท่านั้น
3. ความแตกต่างเกี่ยวกับการใช้งาน
พื้น PU เหมาะกับการใช้งานเกี่ยวกับ พื้นโรงงานอาหารและยา พื้นโรงงานผลิตเครื่องดื่ม พื้นโรงงานผลิตน้ำ พื้นกลุ่มนี้จะได้รับการรองรับมาตรฐาน GMP HACCP และองค์การอาหารและยาแห่งประเทศไทย (อย.) บริษัทที่ทำพื้นพียู เช่น CP เบทาโก สถาบันอาหารแห่งประเทศไทย ฟาร์มเฮ้าส์ เป็นต้น
พื้น epoxy นิยมทำเป็นพื้นโรงงานผลิตรถยนต์ โรงงานผลิตสารเคมี พื้นโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิก ห้องทดลอง ห้อง Clean room พื้นโชว์รูมรถยนต์ พื้นโกดัง เป็นต้น พื้นอีพ็อกซี่เป็นสีทีมีความเงางามสูง ทำความสะอาดง่าย กลุ่มบริษัทที่ใช้งานพื้นอีพ็อกซี่ ได้แก่ โรงงาน Honda Toyota Mitsubishi Sumsong Sony เป็นต้น
“กล่าวโดยสรุป ความ แตก ต่าง ระหว่าง พื้น PU กับ พื้น epoxy มี 3 ประเด็น คือโครงสร้างทางเคมี ลักษณะทางกาภาพของฟิล์มสีและการเลือกใช้งานที่แตกต่างกัน”